พื้นอีพ็อกซี่ หรือ พื้น PU รับโหลดได้จริงหรือ
พื้นอีพ็อกซี่ และ พื้นพียูสามารถรับน้ำหนักรถโฟลคลิฟท์ได้จริงหรือเปล่า คำถามนี้กลายเป็นข้อสงสัยสำหรับท่านลูกค้าใหม่ที่ต้องการจะเลือกใช้พื้นอีพ็อกซี่ หรือลูกค้าที่เคยใช้งานพื้น Epoxy และพื้นพียูอยู่แล้ว สาเหตุเกิดจากความไม่มั่นใจและยังไม่มีผู้ให้ข้อมูลที่ดีพอหรือให้ความมั่นใจว่าใช้ได้ บทความนี้จะเขียนถึงหลักการรับน้ำหนัก ประเภทของการรับน้ำหนัก “Loading” ประเภทรถ Fork Lift และหลักการเลือกใช้งานสีอีพ็อกซี่เป็นพื้นโรงงาน
ประเภทของการรับน้ำหนัก
การรับน้ำหนักของพื้นคอนกรีต พื้น Epoxy และพื้น PU มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อลูกบาศ์ทเมตร สำหรับคอนกรีตเริมเหล็กมี่ค่าการรับน้ำหนักอยู่ในช่วง 2300 – 2400 กก./ลบ.ม. การรับน้ำหนักสำหรับพื้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ Static กับ Dynamic Load
การรับโหลดพื้นอิพ็อกซี่หรือพื้น PU (Loading) จากการใช้งานรถโฟลคลิฟเป็นหัวข้อที่สำคัญมากว่าแรงที่กระทำกับพื้นเมื่อเรามีการใช้รถโฟล์คลิฟ (Forklift) เพื่อจะได้ทำการเลือกใช้สีพื้นและความหนาพื้นอิพ็อกซี่หรือพื้น PU ให้ถูกต้อง การรับโหลดพื้นอิพ็อกซี่หรือพื้น PU จากการใช้งานรถโฟลคลิฟมี 2 ประเภท คือ Static load และ Dynamic Load
Static load คือการรับโหลดพื้นอิพ็อกซี่หรือพื้น PU จากรถโฟล์คลิฟในสภาวะจอดนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนที่ ซึ่งมีสกมารทางคณิตศ่าสตร์คำนวณการรับโหลดของพื้นได้โดยเลย ซึ่งหน่วยที่เราใช้วัดคือ lbs./Sq. ft. (PSF)
Fig. 2 การรับโหลดของรถโฟล์คลิฟ
Dynamic Load คือ การรับรับโหลดพื้นอิพ็อกซี่ หรือพื้น PU ในสภาวะที่รถโฟล์คลิฟมีการเคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง การเลี้ยว การเบรค การยกคานลิฟขึ้นหรือลง เป็นต้น ซึ่งการรับโหลดแบบนี้ต้องรู้ค่าสูงสุดที่พื้นสามารถรับได้ (Critical Load) ซึ่งมีค่าสูงกว่า Static Load แต่อย่างไรก็ตาม Dynamic load จากรถโฟล์ลิฟยังมีความรู้อยู่น้อยมาก อิกทั้งยังไม่มีสมการทางคณิตศาสตร์ออกมาให้เห็น ดังนั้นการแนะนำการใช้หรือการแนะนำความหนาพื้นอิพ็อกซี่หรือพื้น PUจะได้จากการทดลองในห้องทดลองและการเก็บข้อมูลจากการใช้งานจริงของลูกค้า ซึ่งสองกระบวนการนี้ ทาง VIC Coatings ได้ทำการเก็บข้อมูลไว้เป็นอย่างดี การรับโหลดพื้นอิพ็อกซี่หรือพื้น PU จะเกี่ยวกับการออกแบบระบบสีพื้นและความหนาเพื่อให้เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ เพื่อแนะนำให้ท่านผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมและเยืดอายุการใช้งาน Continue reading →